คำถามนี้ก็เหมือนกันการถามผู้รับเหมาว่าทำไมรีโนเวทบ้านถึงแพงกว่าการสร้างบ้านหลังใหม่ นั่นก็เพราะต้องทำการทุบ รื้อ ของเก่า แล้วก็สร้างของใหม่ลงในที่ของเก่าอีก ยิ่งถ้าของเก่าโครงสร้างเดิมทำไว้ไม่ดีนั่นก็ยิ่งที่จะทำให้รีโนเวทยากยิ่งๆขึ้นไปอีก เฉกเช่นเดียวกับการแก้จมูกนั่นเอง
อย่าลืมรับชมภาพเคสรีวิวได้ดีที่ >>> รวมภาพรีวิวเคสปกป้องคลินิก
ก่อนอื่นเรามาทบทวนความจำเรื่องกระดูกอ่อนที่ปลายจมูกกันก่อนว่ามีโครงสร้างเป็นอย่างไร จะได้ทำให้เราเข้าใจถึงการแก้จมูกมากขึ้น
โครงสร้างของกระดูกอ่อนปลายจมูกเป็นอย่างไร
จะเห็นว่าโครงสร้างกระดูกอ่อนปลายจมูกนั่นถ้าดูจากด้านข้างจะเป็นไปตามรูปซ้าย ถ้าดูในมุมเงยจะเห็นเป็นแบบรูปขวา ซึ่งเป็นโครงสร้างที่กำหนด ความพุ่งหรือความยาวของปลายจมูกของเรา นอกจากนั้นแล้ว ยังเป็นตัวกำหนดรูปทรงของรูจมูกอีกเช่นกัน หรืออ่านเรื่องนี้เพิ่มเติมได้ที่ ==> เย็บอินเตอร์โดมคืออะไร
การเสริมจมูก
ดังนั้นคอนเซ็ปของการเสริมจมูกจึงควรจะเป็นการที่ปรับโครงสร้างของกระดูกอ่อนปลายจมูกเพื่อให้ได้ปลายพุ่งตามต้องการมากกว่าที่จะเป็นการ วางซิลิโคนทับลงบนกระดูกปลายจมูกดังเช่นในรูป
จะเห็นว่าถ้าเราเสริมซิลิโคนทับลงบนกระดูกปลายจมูกแบบรูปซ้าย นอกจากจะไม่ได้เป็นการปรับโครงสร้างปลายจมูกแล้ว ยังเป็นการทีไปกดทับกระดูกปลายจมูกอีก ดังนั้นสิ่งที่ควรทำควรจะเป็นการเย็บยืดกระดูกดังรูปขวา ซึ่งจะทำให้ปลายดูเรียวขึ้น รูปรูจมูกชูขึ้น และที่สำคัญเป็นการยืดกระดูก แทนที่จะเป็นการยืดผิวหนังแบบในรูปซ้าย ซึ่งจะตามมาด้วยเรื่องผิวหนังที่ถูกยืดจนบางลงนั่นเอง
ทีนี้เรื่องนี้สำคัญอย่างไร ดูจะยังไม่เกี่ยวกับการแก้จมูกเลยซักนิด จริงๆแล้วเกี่ยวกับแบบอ้อมๆครับ เพราะการวางซิลิโคนแบบรูปซ้ายที่ทับกระดูกลงไปนั้นทำให้กระดูกอ่อนเสียรูป พอนานเข้า ก็จะเกิดพังพืดมาโอบรัด ทำให้การจะยืดกระดูก ทำได้ยากยิ่งขึ้น เพราะต้องทำการเลาะพังผืดที่เกาะรอบตัวกระดูก
พังผืดคืออะไร
หรือเราอาจจะเรียกมันว่าแผลเป็นก็ได้ แล้วพังผืดที่ว่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร
พังพืดเป็นกลไกของร่างกายที่มาช่วยในการสมานบาดแผล เช่นเวลาเราเสริมจมูกนั้น เราต้องทำการเลาะให้เป็นโพรงเพื่อเสริมจมูกขึ้นมา ดังนั้นหลังจากการเลาะหรือเสริม ก็จะเกิดพังพืดตามมาในทุกรายไป ทีนี้พังพืดที่ว่าจะมากหรือน้อยนั้นเกิดจากอะไร? จำง่ายๆคับ ถ้ายิ่งแผลภายในจมูกหายช้า ก็จะยิ่งทำให้เกิดพังพืดมากขึ้นนั่นเอง โดยเกิดจากปัจจัยหลักดังนี้
มีเลือดคั่ง คือหลังทำมีอาการบวมมากกว่าปกติ ไม่ยุบซักที เลือดที่คั่งจะถูกแทนที่ด้วยพังพืดในภายหลัง
มีการอักเสบหรือติดเชื้อ ยิ่งมีการติดเชื้อจะทำให้การหายช้าลง
ตัวซิลิโคนไม่รับกับ กระดูกจมูก ก็จะทำให้ เกิดช่องว่างระหว่างซิลิโคนกับจมูกเยอะ ช่องว่างเหล่านั้น ร่างกายเราจะสร้างพังพืดมาแทนที่
แต่นอกจากคำว่าพังพืดแล้ว บางทีเราอาจจะเคยได้ยินอีกหนึ่งคำคือ คำว่าแคปซูล แคปซูลนั่นก็เป็นพังพืดประเภทนึงเช่นกัน แต่เกิดจากการที่ร่างกายของเราสร้างขึ้นมาห่อหุ้มสิ่งแปลกปลอม นึกง่ายๆเหมือนถุง ร่างกายจะสร้างถุงมาใส่ซิลิโคน เพื่อป้องกันการสัมผัสระหว่างซิลิโคนกับเนื้อเยื่อต่างๆในร่างกาย ซึ่งพบบ่อยๆในซิลิโคนจมูก หรือ ซิลิโคนหน้าอก
การใช้ซิลิโคนในการเสริมจมูกจะทำให้เกิดแคปซูลหรือพังพืด
การใส่ซิลิโคนนั้นเกิดแคปซูลทั้งหมดเลยครับ ไม่ว่าเราจะใช้เกรดพรีเมี่ยมขนาดไหน biochemical เข้ากับร่างกายขนาดไหน มี chemically state ขนาดไหน ก็เกิดแคปซูลทั้งหมด แล้วมันน่ากลัวมั้ย แคปซูล เนี่ย? จริงๆแล้ว มันก็เป็นกลไกตามธรรมชาติ ถ้ามันไม่มากจนเกิดไป จนทำให้จมูกผิดรูปหรือน่าเกียจ แคปซูลหรือพังผืดที่ว่าก็ไม่อันตรายครับ โดยทางการแพทย์ก็มีการระดับที่บ่งบอกว่าถ้ามันมีปริมาณมากจะทำให้ความธรรมชาติของจมูกเปลี่ยนแปลงไปมากจนขึ้นระดับ 3 ก็สมควรต้องจัดการกับมัน โดยเราแบ่งออกเป็น 4 ระดับดังนี้
ระดับ 1 ดูภายนอกเป็นปกติเลย
ระดับ 2 เริ่มเห็นเป็นขอบซิลิโคน แต่อยู่ในเกณฑ์ที่รับได้
ระดับ 3 มีการหดรัดของแคปซูล จนซิลิโคนดูเอียง สัมผัสภายนอกแล้วผิวหนังค่อนข้างแข็ง ไม่ยืดหยุ่น และไม่สม่ำเสมอ
ระดับ 4 มีการหดรัดที่ปลายจมูกจนจมูกสั้น ปลายเหินเห็นรูจมูก
ระดับที่ 2
ซิลิโคนเห็นเริ่มเป็นขอบจากการหดรัดของแคปซูล
รูปซ้ายจะเห็นว่าก่อนแก้เป็นขอบชัด รูปขวาตือหลังจากแก้
ระดับที่ 3
มีการหดรัดของแคปซูล จนซิลิโคนดูเอียง และดูหนา
ระดับที่ 4
แคปซูลหรือพังพืดก่อให้เกิด จมูกสั้น ปลายเหิน นั้นเป็นอย่างไรและสาเหตุจากอะไรมาดูกัน
เคสนี้อาจจะไม่ชัดเจนมากแต่ก็พอจะให้เห็นภาพซักหน่อย จะเห็นว่าก่อนแก้รูปซ้าย ปลายดูทู่ สั้น หนา และ ดูเหินขึ้น เนื่องจากพังผืดหรือแคปซูลดึงรั้งปลายจมูกอยู่ โดยส่วนมากมักจะเกิดจากการที่สมัยก่อนมักจะใช้ซิลิโคนรูปตัว I โดยไม่ได้ปรับโครงสร้าง ยืดปลายจมูกเพิ่มด้วย
อธิบายแบบนี้ครับ ตามรูปบน เป็นการเปรียบเทียบซิลิโคนตัว I กับ ซิลิโคนตัว L
จะเห็นว่า การใช้ซิลิโคนตัว I นั้นจะมีส่วนปลายจมูกที่ไม่มีซิลิโคนอยู่ แต่เป็นส่วนที่ต้องเลาะผ่านไป ในการที่จะทำจมูก ดังนั้นเมื่อเกิดการเลาะเกิดขึ้น บริเวณดังกล่าวก็จะเป็นช่องว่างที่ไม่ได้เติมเต็มด้วยซิลิโคน ดังนั้นร่างกายจะแทนที่ช่องว่างด้วยพังพืด (สีเขียวโดยเฉพาะที่อยู่ที่ปลายจมูก) ยิ่งถ้าหลังการผ่าตัดมีเลือดคั่งเยอะหรือ มีการติดเชื้อ พังพืดดังกล่าวก็จะมีปริมาณมากขึ้น ทำให้เกิดการดึงรั้งให้ปลาย สั้นหนา และดูเหิ่นขึ้น (ตามรูปด้านบน) นั่นเอง
แต่อย่างไรก็ดีครับ ซิลิโคนตัว L ก็ไม่ได้ดีเสมอไป เพราะซิลิโคนแบบนี้ถึงแม้จะสามารถเข้าไปเติมเต็มช่องว่างได้ดีกว่าตัว I แต่ข้อเสีย ก็คือถ้าตึงเกินไป ปลายก็จะบางครับ สามารถอ่านเรื่องซิลิโคนเพิ่มเติมได้ที่ ==> ซิลิโคนเนื้อเยื่อเทียมกับการทำจมูก
การแก้จมูกที่เสริมซิลิโคนตัว L มา
สุดท้ายแล้วครับ อดทนอ่านอีกซักนิดนะครับ ผมอยากให้ดูว่า ในการแก้จมูกที่เสริมตัว L นั้น เราควรที่จะเลาะเอาแคปซูลเก่าออกก่อน ถ้าไม่เลาะจะเกิดอะไรขึ้น??
ซิลิโคนที่ถูกเสริมไว้ในมุมเงย วางทับกระดูกอ่อน และ อยู่ใต้ผิวหนัง ดังภาพด้านบน
ตั้งแต่ 1 เดือนหลังเสริมใหม่ไป จะเกิดพังพืดและแคปซูลขึ้น แคปซูลคือสีเขียวที่ล้อมรอบซิลิโคนสีน้ำเงิน และพังพืดเส้นเล็กๆ สีเขียวๆ เกาะอยู่รอบอีกที
การแก้โดยการถอดซิลิโคนออกจะเหลือพังพืดและแคปซูลอยู่
ถ้าตัดพังผืดแค่ด้านล่างออกแล้วจึง
เสริมซิลิโคนใหม่เข้าไป จะทำให้ปลายดูหนา ตามภาพด้านบน แต่ก็อาจจะเหมาะกับเคสที่ปลายบาง
สิ่งที่ควรทำคือเลาะตัดพังออกให้หมดทั้งบนและล่าง แล้วเอาแคปซูลทั้งยวงออกมา
อีกทั้งการที่ผ่านการเสริมมาทำให้มีพังพืดเกาะติดที่กระดูกอ่อนปลายจมูก ทำให้เป็นปัญหาในการที่ปรับโครงสร้างยืดกระดูกปลายจมูก ดังนั้นต้องเลาะตัดให้ออกให้หมดเพื่อทำให้ กระดูกยืดได้เต็มที่
สรุป
ในเคสที่แก้นั้น ความยากง่ายอาจจะตามกับปริมาณพังพืดที่เยอะหรือน้อย และพังพืดดังกล่าวไปรบกวนนกระดูกปลายจมูกมากเพียงใด ถ้ารบกวนมากสังเกตุง่ายๆว่า จะพบว่าถ้าเงยหน้าขึ้นจะพบว่าปลายจมูกดูโด่งแต่รูจมูกไม่ได้โด่งตาม หรือ บางคนอาจจะพบว่ามีตุ่มปูดๆขึ้นในรูจมูก ซึ่งเกิดจากการที่หัวซิลิโคนกดทับจนกระดูกผิดรูปนั่นเอง และทั้งนี้การป้องกันพังพืดต่างๆที่จะเกิดขึ้นก็สามารถทำได้ด้วยตนเองเช่นกัน เช่นการนวด การนวดเป็นการลดพังพืดหรือแผลเป็นที่ง่ายและสะดวกที่สุด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการนวดนั้นจะเริ่มนวดได้ก็ต่อเมื่อแพทย์สั่งเท่านั้นนะครับ
Comments