top of page
Pokpong Pothikhun

การฉีดยาชาในการทำจมูกเป็นอย่างไร เจ็บไหม

อัปเดตเมื่อ 20 ธ.ค. 2565


ผมได้รับคำถามอยู่บ่อยๆเกี่ยวกับเรื่องการฉีดยาชา ฉีดยาชาเจ็บไหม? ทำไมไม่ดมยาสลบไปเลยละคะหมอ? แล้วถ้าระหว่างทำเกิดหายช้าละครับ? ฉีดเบาๆได้มั้ยคะ? มาดูกันดีกว่าว่าฉีดอย่างไรถึงจะเจ็บน้อยที่สุดกัน

 

อย่าลืมรับชมภาพเคสรีวิวได้ดีที่ >>> รวมภาพรีวิวเคสปกป้องคลินิก

 

ยาชาคืออะไร ออกฤทธิ์อย่างไร อยู่ได้นานเท่าไหร่

ยาชาก็เป็นสารที่เราใช้เพื่อระงับการรับความรู้สึก เป็นการบล็อกความรู้สึกจากการที่ไปทำปฏิกิริยากับการส่งกระแสประสาทของเส้นประสาท ซึ่งสามารถนำมาใช้ได้ในกรณีฉีดเฉพาะที่เช่นในการทำจมูก ถอนฟัน หรือสามารถฉีดเพื่อระงับการรับความรู้สึกจากเส้นประสาทไขสันหลัง เช่นเวลาบล็อกหลัง ในการผ่าตัดทำคลอด โดยยาชาในรูปแบบที่ฉีดเฉพาะที่หลังฉีดจะใช้เวลา 1-2 นาทีในการออกฤทธิ์เต็มที่ และจะออกฤทธิ์ได้นาน 3 ชั่วโมง


ทำไมยาชาถึงเจ็บ

ยาชาที่เราใช้กันนั้นมีฤทธิ์เป็นกรดที่สูงกว่า ในร่างกายเรามาก สารอะไรก็ตามที่มีฤทธิ์เป็นกรดหรือด่างที่ต่างกับภายในร่างกายเรามากๆ ก่อให้เกิดการเจ็บขณะฉีดได้


วิธีการฉีดยาชา

ในการฉีดยาชาสำหรับในกรณีผ่าตัดเสริมจมูกนั้นมีวิธีการฉีดเพื่อระงับความรู้สึกได้ 2 วิธีหลักๆ คือการฉีดเฉพาะที่คือฉีดตรงไหนก็ชาตรงนั้น กับอีกวิธีคือการฉีดที่ตอของเส้นประสาท เป็นฉีดเพื่อทำให้บริเวณที่เส้นประสาทนั้นส่งความรู้สึกไป ถูกบล็อกการรับความรู้สึก คือฉีดตรงตอที่เดียวแต่จะชาบริเวณอื่นด้วย


เริ่มน่าสนใจแล้วใช่มั้ยคับ มาดูกันว่าตอของเส้นประสาทที่ส่งความรู้สึกมาที่จมูกมีตรงไหนกันบ้าง


โครงสร้างของเส้นประสาทรับความรู้สึกที่จมูก

จากรูปจะพบว่ามีอยู่ 4 ตอของเส้นประสาท แต่จริงๆแล้วตอที่รับความรู้สึกโดยส่วนใหญ่ของจมูกมีอยู่หลักๆ 3 ตอ คือ infratrochlear nerve, external branch of anterior ethmoidal nerve และ infraorbital nerve ซึ่งแน่ครับว่าว่าถ้าเราฉีดยาชาตรง 3 จุดดังกล่าวได้ ก็จะสามารถ ระงับความรู้ทั้งจมูกได้ โดยไม่ต้องฉีดหลายๆจุดทั่วจมูก


ควรจะฉีดยาชาอย่างไรให้เจ็บน้อยทีสุด

ก่อนอื่นเราต้องจำแนกก่อนครับว่าความเจ็บนั้น เราเจ็บจากอะไร ก็คือเราเจ็บจาก ปลายเข็ม หรือจากตัวยาชาเอง ที่นี้วิธีลดความเจ็บจาก 2 กรณีนี้ทำได้อย่างไร ผมแบ่งเป็นข้อๆ แบบนี้ครับ

  1. เนื่องจากตัวยาชาเอง หรือ lidocaine นั้นมีฤทธิ์เป็นกรด(pH~4) มากกว่าผิวหนังเรา ซึ่ง pH=7.4 ดังนั้นจึงควรจะต้องใช้ buffer หรือคือการใช้สารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง ผสมในยาชา ซึ่งก็คือ bicarbonate โดยจะผสม bicarbonate 1 ส่วนต่อ lidocaine 10 ส่วน

  2. การฉีดบล็อกที่ตอเส้นประสาทก่อน แล้วจึงฉีดที่ในส่วนที่เหลือของจมูก ซึ่งก็จะมีความเจ็บแค่ 3 เข็มแรก หลังจากนั้นก็จะไม่รู้สึกเจ็บ แต่เหตุผลที่เราบล็อกที่ตออย่างเดียวไม่ได้ก็เพราะ ในยาที่ใช้นั้นมี adrenaline เป็นส่วนประกอบด้วย เราจึงหวังผล adernaline ในการห้ามเลือดระหว่างการผ่าตัดเช่นกัน

  3. อีกประการคือ การ block ที่ตอประสาทอาจจะได้ไม่ทำให้ชาทั้งหมด 100 % จึงมีความจำเป็นที่ฉีดยาชาเป็นเฉพาะอีก แต่ในการฉีดเฉพาะจุด ก็มีเทคนิคที่ทำให้การฉีดลดความเจ็บลงได้คือ การค่อยๆฉีดให้ยาชากระจายนำปลายเข็มไปก่อน แล้วจึงฉีดจุดต่อๆไป ซึ่งเป็นการลดความเจ็บในเข็มต่อๆไป โดยจะเจ็บแค่เข็มแรกๆ เข็มเดียว

  4. แต่ถ้าอยากลดความเจ็บที่เข็มแรกล่ะ ทำอย่างไร ผมขอแนะนำการใช้เทคนิค ที่เรียกว่า pinch technique คือการหยิบเนื้อขึ้นมาก่อนจากนั้น ก็ปักเข็ม 90 องศากับผิวหนัง โดยวิธีนี้เป็นการลดโอกาสที่จะทำให้ปลายเข็มลดการสัมผัสกับปลายเส้นประสาทลงได้ เป็นการลดความเจ็บปวดจากปลายเข็มนั่นเอง

  5. เดินยาช้าๆ แน่นอนครับเดินยาช้าๆ นั้นช่วยลดความเจ็บลงแน่นอน

  6. เช่นเดียวกับการใช้เข็มที่ขนาดเล็กกว่า


6 วิธีการนี้จะทำให้การฉีดยาชาลดความเจ็บไปได้เยอะเลยครับ แต่อย่างไรก็ดีครับเข็มๆแรกเราก็ยังต้องรู้สึกแน่นอนเพราะ เข็มจิ้มลงไปอย่างไรก็เจ็บครับ


ข้อดีของการฉีดยาชา

สาเหตุที่หมอหลายท่านเลือกที่จะใช้ยาชาก็เพราะการดมยาสลบมีความเสี่ยงนั่นเอง ส่วนข้อดีอีกข้อที่พูดไปแล้วแล้วคือ adrenaline ที่อยู่ในยาชานั้น สามารถห้ามเลือดในการผ่าตัดได้บ้าง และการฉีดยาชาเข้าไปในชั้นที่ถูกต้องเป็นการทำให้การผ่าตัดง่ายขึ้น เนื่องจากยาชาทำให้ชั้นต่างๆของผิวหนังแยกกัน การเลาะจึงทำได้ง่ายมากขึ้น


แต่อย่างไรก็ดีถึงแม้ว่าความปลอดภัยของยาชาจะอยู่ในระดับที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับวิธีการระงับความรู้สึกในรูปแบบอื่นๆ แต่ผลข้างเคียงก็มีเช่นกัน


ผลข้างเคียงจากยาชา

อาจจะมีอาการที่ไม่รุนแรงมาก อย่างเช่น ตาเบลอ วินเวียนศรีษะ ปวดศรีษะ เหงื่อออกมากขึ้น

จนไปถึงอาการที่รุนมากขึ้น เช่น หัวใจเต้นเร็ว หายใจลำบาก เจ็บแน่หน้าอก หมดสติ หรือแม้กระทั่งอาการชักเกร็ง

ถ้ามีอาการดังกล่าวระหว่างการฉีด ไม่ว่าจะรุนแรงมากหรือน้อย ควรแจ้งแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างทันท่วงที


ข้อห้ามในการฉีดยาชา

ถ้ามีประวัติหรือโรคประจำตัวดังนี้ ควรบอกแพทย์ก็การฉีดยาชา

  • มีประวัติแพ้ยาชา หรือ แพ้ข้าวโพด

  • โรคตับ

  • โรคไต

  • โรคหัวใจ

  • โรคไทรอยด์


สรุป

ยาชาเฉพาะที่ ถือว่าเป็นวิธีระงับความรู้สึก ที่ปลอดภัยมากกว่าวิธีอื่นๆ แต่ความเจ็บจากยาชาเป็นที่กล่าวถึงกับอย่างกว้างขวาง จนหลายคนกัวกับการฉีดยาชาอย่างมาก บทความนี้จึงมาบอกเล่าเทคนิคส่วนตัวที่ผมใช้ เพื่อลดความเจ็บจากการฉีดยาชา ผมก็หวังว่า มุมมองต่อยาชาสำหรับทุกท่านที่ได้อ่านบทความนี้จะเปลี่ยนไปบ้างไม่มากก็น้อยนะครับ


อย่าลืมรับชมภาพเคสรีวิวได้ดีที่ >>> รวมภาพรีวิวเคสปกป้องคลินิก


และสามารถติดต่อเราได้ที่ >>>


ดู 20,589 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comentarios


bottom of page