บทความนี้ผมอยากเขียนเรื่องการทำจมูกในแนวการเมืองบ้าง 5555 ถ้าใครไม่สนใจเปิดอ่านเรื่องอื่นได้เลยนะครับ เพราะว่าบทความนี้การเมืองจัดๆ อันที่จริงแล้ว ชื่อเรื่องมันควรเป็น ทุนนิยมกับการเสริมจมูก แต่ผมกลัวว่าคงจะไม่มีใครเซิจเรื่องการเสริมจมูก ร่วมกับคำว่า ทุนนิยมแน่นอน เพราะฉะนั้น ชื่อแบบนี้ดีกว่าครับ
อย่าลืมรับชมภาพเคสรีวิวได้ดีที่ >>> รวมภาพรีวิวเคสปกป้องคลินิก
ก่อนที่เราจะพูดถึงทุนนิยมนั้นเรามาลองดูประวัติศาสตร์เกี่ยวกับทุนนิยมและการปฏิวัติอุตสาหกรรมกันซักนิด ซึ่งเป็นสองเรื่องที่เกี่ยวพันกันแยกออกจากกันไม่ได้ โดยจะเริ่มจากยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมหนัก หรือที่เรียกว่ายุค 1.0 กัน (2.0 คือผลิตในปริมาณขึ้น ,3.0 มีการใช้หุ่นยนต์ในการผลิต ,4.0 ก็ประเทศไทยไง!! คือยุคดิจิตัล) ที่เป็นเหมือนกลไกเริ่มกระบวนการการผลิตเพื่อจำหน่าย ซึ่งเป็นทั้งเหตุและผล ในการพัฒนาเป็นทุนนิยม
การปฏิวัติอุตสาหกรรมและชนชั้น
อังกฤษเป็นประเทศซึ่งการพัฒนาจากระบบฟาสซิสต์เป็นทุนนิยมประชาธิปไตยหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมเริ่มต้นก่อนใครๆ และเบ่งบานที่สุด เทียบกันในยุคปลายศตวรรษที่ 19 โดยการปฏิวัติอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นนั้นแทบจะเรียกได้ว่าราบรื่นที่สุดถ้าเทียบกับในประเทศอื่นๆ ก่อนที่เราจะเข้าใจว่าการปฏิวัตินั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร เราต้องทำความเข้าระบบชนชั้นกันก่อน ระบบชนชั้นแบ่งออกเป็น คร่าวๆคือ เจ้าที่ดิน นายทุน กรรมมาชีพ และ ชาวนา อัตราส่วนชนชั้นแต่ละชนชั้นในประเทศต่างๆ มีไม่เท่ากัน และนี่เป็นเหตุผลนึงที่ทำให้การปฏิวัติจะสำเร็จหรือล้มเหลว อังกฤษมีสัดส่วนนายทุนรายย่อยเป็นจำนวนมาก และชนชั้นนี้เองเป็นชนชั้นผู้นำในการปฏิวัติ มีมากถึงขั้นมีอำนาจต่อรองกับชนชั้นต่างๆ นายทุนเหล่านี้เป็นผู้ที่เริ่มสร้างถนน สร้างระบบราง ทำเกิดการขนส่งถ่านหิน เพื่อสร้างพลังงาน เพื่อผลิตเหล็กให้ใช้อุตสาหรรมหนักได้ กลไกเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ เนื่องจากมีความยินยอมจากทุกฝ่าย การปฏิวัตินี้ก็เป็นเหตุผลหลักในการเป็นผู้นำการค้าในระบบทุนนิยมนั่นเอง ซึ่งต่างจากในประเทศอื่นๆอย่างเยอรมันหรือรัสเซียที่อุตสาหกรรมหนักๆเข้ามาในประเทศช้ากว่า พอเข้ามาช้า ทำให้ถ้าต้องการที่จะทำให้ประเทศทัดเทียมกับนานาประเทศนั้น ต้องเร่งการผลิต การเร่งการผลิตจึงเป็นการกระทำโดยรัฐ ไม่ได้เกิดเองตามธรรมชาติ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวนา จึงเกิดมีการเกณฑ์ชาวนาเพื่อมาเป็นแรงงานหรือกรรมกรในอุตสาหกรรมต่างๆ การเร่งการผลิตจึงเกิดการกดค่าแรงงาน นำมาสู่ความไม่พอใจของกรรมกร เกิดการลุกฮือประท้วงกันอยู่บ่อยครั้ง
ทุนนิยมเกิดขึ้นเมื่อใด และคืออะไร
ทุนนิยมเริ่มต้นจริงๆ น่าจะอยู่ราวๆศตวรรษที่ 18 โดยการเริ่มมีการพัฒนาการใช้การแลกเปลี่ยน หรือซื้อขายสินค้า ให้เป็นไปตามกลไกตลาด และมีการนำความเข้าใจในเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน สิทธิส่วนบุคคลที่พึงจะมีมาใช้ ซึ่งก็เป็นนิยามของทุนนิยม ถ้าดูในประเทศทางตะวันตก ประเทศแรกที่มีการพัฒนาระบบทุนนิยมก่อนใครก็น่าจะเป็นอังกฤษ ซึ่งเป็นการพัฒนาความคิดในเชิงทุนนิยมไปพร้อมๆกันการปฏิวัติอุตสาหกรรม
กลไกตลาดคืออะไร
กลไกตลาดที่เกิดขึ้นในอดีตนั้นแทบจะเรียกได้ว่าเป็นวิธีคิดที่นำไปสู่วิชาเศรษฐศาสตร์การเงินกระแสหลักที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้
หากเราย้อนกลับไปในสมัยที่เรายังไม่มีทุนนิยม การแลกเปลี่ยนสินค้า เราแลกตามความพึ่งพอใจของคนสองคน เช่น เราเอาส้มมาแลกกับริบอายของเพื่อน ซึ่งบ้านเราทำไร่ บ้านเพื่อนเลี้ยงสัตว์ การประกอบอาชีพดังกล่าวนั้นเป็นทำเพื่อดำรงชีพ ใช้เองในครัวเรือน ส่วนที่เหลือจากการใช้ก็ทำมาแลกเปลี่ยนกับคนในชุมชนเดียวกัน แต่ต่อมาชุมชนเริ่มขยายขนาดขึ้น ร่วมกับพบว่ามีหลายชุมชนที่เกิดขึ้นในทั่วทุกมุมโลก เริ่มมีการแลกเปลี่ยนกันมากขึ้น มีการแลกเปลี่ยนระหว่างชุมชน เพราะว่าแต่ละชุมชนก็มีของที่จะแลกเปลี่ยนเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงเริ่มมีการใช้ตัวกลางในการแลกเปลี่ยน เริ่มจากหินต่างๆแล้วพัฒนาจนเป็นเงินตราในปัจจุบัน
การแลกเปลี่ยนโดยใช้เงินเป็นตัวกลางนั่นทำให้เกิดความคิดที่จะสะสมความมั่งคั่งผ่านเงินตราเหล่านั้น เป็นผลให้การทำงานไม่ได้ทำแค่เพื่อดำรงชีพอีกต่อไป เป็นการทำเพื่อสะสมมั่งคั่ง เพื่อที่จะสามารถแลกเปลี่ยนสิ่งใดๆตามความต้องการมากขึ้น แต่ด้วยที่สิ่งของหรือสินค้าที่จะแลกเปลี่ยนกัน ของบางอย่างมีน้อย บางอย่างมีเยอะ บางอย่างคนต้องการมากแต่ผลิตได้น้อย การแข่งขันเพื่อที่จะครองครองสิ่งๆนั้นจึงเกิดขึ้น ทำให้ราคาของสิ่งนั้นแพง ลักษณะเหมือนการประมูล ความคิดในลักษณะนี้เป็นจุดเริ่มต้นของกลไกตลาด ซึ่งก็คือราคาสินค้าถูกกำหนดตามอุปสงค์และอุปทาน นั่นเอง
ดังนั้นอย่างถ้าเราเกิดอุปสงค์หมู่ขึ้นมา พร้อมๆกับสินค้ามีอยู่น้อยลง จากการที่เอาไปขายในต่างประเทศ อย่างวิกฤตหน้ากากอนามัยที่ผ่านมา สินค้าก็จะแพงขึ้น หรือถ้าเกิดอุปสงค์หมู่พร้อมๆกัน จากการที่เห็นดาราดังๆใช้สินค้านั้น หรือการวางแผนโฆษณาที่แยบยลของผู้ผลิตสินค้านั้น แล้วทำเสมือนว่าอุปทานของสินค้าต่ำมากๆ สินค้านั้นก็จะแพงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ดังเช่น ในช่วงพีคของสินค้าจากแบรนด์ ซูพรีม
หลายคนอาจจะนึกเถียงในใจว่าการแข่งขันหรือการต่อสู้เพื่อเอาตัวรอด นั่นเป็นสิ่งที่เป็นสัญชาติญานโดยกำเนิดของสิ่งมีชีวิตอยู่แล้ว เราอยู่บนกฎของ natural selection ผู้แข่งแกร่งกว่าเป็นผู้ที่อยู่รอด ผู้แพ้ก็ต้องตายไป สิงโตจะต้องไล่จับกวางเพื่อกินเป็นอาหาร ไม่ใช่กวางทุกตัวที่ถูกจับ กวางที่โดนจับมักจะเป็นกวางที่ประมาท เลิ่นเล่อ หรืออ่อนแอกว่าตัวอื่น หนีไม่ทันสิงโต แต่ก็แปลกที่สิงโตไม่จับกวางทุกตัวเก็บไว้ เพื่อที่จะกินได้ทั้งปี นั่นต่างจากมนุษย์ที่บอกว่าตัวเองเป็นสัตว์ประเสริฐ เราอาศัยหลักการเดียวกัน ใครแข่งแกร่งกว่าก็อยู่รอด แต่คนแข็งแกร่งกว่ากลับไม่ทำตัวแบบสิงโต มนุษย์มักจะต้องสะสมความมั่งคั่งไปเรื่อยถ้ามีโอกาส หรือการสะสมแบบนี้คือการที่แยกความประเสริฐของเราออกจากสัตว์โลกชนิดอื่นๆ??
การแลกเปลี่ยนผ่านกลไกตลาดเป็นเรื่องถูกต้องจริงๆหรือ
นักเศรษฐศาสตร์ทุนนิยมต่างมองตรงกันว่า ทุนนิยมเป็นสิ่งที่เป็นธรรมชาติของมนุษย์มากที่สุด นั่นก็เพราะว่ามนุษย์มีความต้องการ ทะเยอทะยาน อย่างไม่สิ้นสุด นั่นก็สอดคล้องกับการที่ทุนนิยมหรือกลไกตลาดสนับสนุนให้มนุษย์ปลดปล่อยความต้องการอย่างไม่สิ้นสุดผ่านทางการสะสมความมั่งคั่ง แต่ในการกลับกัน ถ้าเรามองมุมมองในระดับประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทย จะพบว่า เรามีกลุ่มคนที่สะสมความมั่งคั่งจากระบบได้มากมหาศาล แต่กลับมีคนจำนวนมากมหาศาลที่ไม่สามารถสะสมความมั่งคั่งได้เช่นกัน และในมุมมองระดับโลก มีประเทศไม่กี่สิบประเทศที่ครอบครองมั่งคั่ง และก็มีประเทศอีกหลายสิบประเทศที่ยากจน และอีกหลายสิบประเทศกำลังพัฒนาอุตสาหกรรมมานับสิบๆ ซึ่งก็ยังคงกำลังพัฒนาอยู่ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น แล้วถ้าเราลองลงไปมองในระดับตัวบุคคลบ้างละ ถ้าตัวเราต้องการมีสุขภาพที่ดีในทุกๆระบบของร่างกายเรา(ทุกคนมั่งคั่ง) แต่เรามีเวลาที่จะดูแลสุขภาพอย่างจำกัด เพราะเราต้องทำงาน เราจะเลือกอย่างไร เราคงจะไม่ดูแลเฉพาะบางระบบ แล้วละทิ้งระบบอื่นๆ เราคงจะไม่ดูแลเฉพาะระบบขับถ่าย โดยไม่ดูแลระบบหัวใจและหลอดเลือด หรือ เลือกดูแลเฉพาะระบบกล้ามเนื้อ โดยไม่ใส่ใจระบบหายใจ เพราะต้องการแข็งแรงในทุกระบบใช่มั้ยละ แต่บางทีการแข่งขันที่ใช้สมรรถภาพทางร่างกายแข่งขันกัน (ทุนนิยม) มันกลับทำให้ความคาดหวังของเราเปลี่ยนไป กีฬาอย่างซูโม่ ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดว่า นักซูโม่ต้องการทำให้ตัวใหญ่ เพื่อทำให้ตัวเค้าเองล้มยากที่สุด แต่กลับละเลยเรื่องปริมาณไขมันในร่างกาย ทำให้มีวิจัยที่พบว่าอายุขัยเฉลี่ยของนักซูโม่ต่ำกว่าคนทั่วไปถึง 10 ปี
ทุกคนอ่านแล้วคงจะงงว่าผมพูดเรื่องอะไร ผมกำลังจะบอกว่าทุกการได้ต้องมีคนเสีย ยกตัวอย่างง่ายๆในตลาดหุ้น ซึ่งเป็นภาพจำลองของระบบทุนนิยมที่ชัดที่สุด ถ้ามีคนได้ตังแปลว่าต้องมีคนเสียตัง ถ้ามีคนได้วันละล้าน ต้องมีคนเสียตังรวมกันวันละล้านเช่นกัน ไม่มีทางที่ทุกคนจะได้พร้อมกันหมด!! แล้วถ้าเราอยู่ในโลกจินตนาการของทุนนิยม คือถ้าใครขยันมากก็ได้รับผลตอบแทนเยอะ ซึ่งเป็นความคิดที่ใครๆก็คิดว่าตรงไปตรงมาและสมเหตุสมผล แต่ผมจะขอแย้งว่าความคิดนี้ไม่มีทางเป็นจริงได้ จะไม่มีทางที่ทุกคนจะได้รับประโยชน์หมดทุกคน ถ้าทั้งโลกสามารถได้รับผลประโยชน์ทั้งหมด ใครจะเสีย?? ถ้ามนุษย์ไม่เสีย สัตว์อื่นๆบนโลกใบนี้ก็ต้องเสีย สิ่งแวดล้อมก็ต้องเสีย เพราะเราอยู่ในโลกที่มีทรัพยากรอย่างจำกัด ผมกำลังจะบอกว่า 1 การกระทำที่เราทำลงไป แล้วคิดว่าเราจะได้ผลตอบแทนอันมีค่าจากมัน มันจะมีคนเสียผลประโยชน์ ไม่ทางตรงก็ทางอ้อมเสมอ
สิทธิมนุษยชนที่เกิดมาพร้อมกับทุนนิยมที่ทำให้เราเคารพสิทธิของผู้อื่น มีกฎบังคับและลงโทษผู้ละเมิด แต่ในเมื่อการได้เรากลับไปกระทบคนอื่น แล้วทำไมเราถึงไม่เรียกสิ่งนี้ว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลละ แต่เรากลับมองว่ามันเป็นธรรมชาติของมนุษย์?
สังคมนิยมคืออะไร
หลายคนร้องยี้ เมื่อได้ยินคำว่าสังคมนิยม เรามักจะนึกภาพสังคมนิยม คือ เกาหลีเหนือ จีน รัสเซีย หรือ เพื่อนบ้านเราอย่าง กัมพูชา และ เวียดนาม แต่รู้มั้ยว่าจริงๆแล้วนะปัจจุบันประเทศที่ดูเอนเอียงไปทางสังคมนิยมมากที่สุดคือ???
ประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย เดกมาร์ก สวีเดน นอร์เวย์ เหล่านี้ ประเทศในกลุ่มนี้มีการให้รัฐสวัสดิการ มีการให้ระบบภาษีที่เท่าเทียม เก็บคนรวยเยอะมาก คนจนเก็บน้อย
ดังนั้นแล้วสังคมนิยมคืออะไรกันล่ะ? คือเผด็จการแบบเกาหลีเหนือ? จริงๆแล้วคำนิยายของสังคมนิยมแบ่งออกเป็นหลายสายมาก ไม่ว่าจะเป็นสาย มาร์กซิส สายสตาลิน หรือสายเฟเบี้ยนแบบในอังกฤษ ซึ่งจุดเริ่มต้นนั่นเกิดมาจาก คาร์ล มาร์กซ์ ในศตวรรษที่ 19 ผมเลยอยากจะเน้นไปที่ ความคิดในแนวสังคมนิยมแบบคาร์ล มาร์กซ์ หรือ มาร์กซิสเป็นหลัก
มาร์คซิส
อันที่จริงหลักคิดของมาร์กซิสมีอยู่มากมายแต่ผมอยากจะอธิบายในเรื่องหลักๆ อย่างนี้ ว่าด้วยเรื่องราคา ถ้าทุนนิยมเราปล่อยให้ราคาเป็นไปตามกลไกตลาด แต่ถ้ามาร์กซิส เราตั้งราคาจากปริมาณชั่วโมงแรงงานที่ใช้เพื่อผลิตสิ่งของเหล่านั้น ถ้าสิ่งของใดใช้ระยะเวลาในการผลิตของแรงงานที่นาน นั่นแปลว่าราคาควรจะต้องแพง โดยเป้าประสงค์ก็เพื่อทำให้ชนชั้นแรงงานไม่โดนกดขึ่จากค่าแรงที่มักจะโดนกดให้ต่ำลงจากแข่งขันทางราคาระหว่างผู้ผลิต เป็นความคิดที่ไม่ต้องการให้ราคาเกิดจากกลไกตลาด แต่เกิดจากการทำงานจริงๆ
อ่านมาถึงตอนนี้หลายคนมีคำถาม หรืออาจจะนึกเถียงในใจแล้วว่า จะเป็นไปได้อย่างไร ใครจะยอม?? จริงๆแล้วเรื่องนี้เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์มาแล้วหลายต่อหลายครั้ง มันมักจะเกิดขึ้นด้วยการปฏิวัติยึดอำนาจโดยกรรมกร อย่างใน รัสเซีย จีน แต่ได้มาซึ่งอำนาจนั้น มันเกิดการจากที่เหล่าปัญญาชนหัวก้าวหน้า มักจะเป็นผู้นำชนชั้นกรรมาชีพในการปฏิวัติ โดยที่บางครั้งชนชั้นกรรมาชีพ ยังไม่เข้าใจแก่นของความคิดเลยด้วยซ้ำ ทำเกิดการถูกชักจูงจากกลุ่มหรือชนชั้นอื่นๆได้โดยง่าย ซึ่งต่างจากในอังกฤษที่ผู้นำการปฏิวัติเป็นชนชั้นนายทุนอย่างที่กล่าวไปข้างต้น
ประวัติรัสเซีย
ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 หลังการปฏิวัติยึดอำนาจโดยกรรมาชีพสำเร็จ รัสเซียที่นำโดยสตาลิน มองการปกครองแบบสังคมนิยมในลักษณะที่ต่างออกไป สตาลินมีนโยบายสังคมนิยมประเทศเดียว โดยไม่ได้ช่วยสังคมนิยมในประเทศต่างๆในยุโรป ยึดอำนาจอย่างที่ตนได้ทำในรัสเซีย ร่วมทั้งให้การปรองดองกับนายทุนต่างๆ ประจวบกับที่รัสเซียในขณะนั้นล้าหลังกว่าประเทศต่างๆในยุโรป สตาลินจึงต้องการเร่งการผลิต แต่ผลที่ได้คือเป็นการกดขี่กรรมาชีพ ซึ่งเป็นฐานเสียงของตนเอง ซึ่งก็เป็นการขัดต่อหลักสังคมนิยมของมาร์ก เราไม่เรียกสิ่งนี้ว่าสังคมนิยม เราเรียกมันว่าเผด็จการทุนนิยม
สังคมนิยม100%นั้นดีจริงๆหรือ
บางคนอาจจะคิดว่าเกาหลีเหนือ จีน รัสเซีย พวกนี้เป็นสังคมนิยมไม่ใช่หรือ ผมจะพูดแบบนี้ครับ ณ ตอนนี้ไม่มีประเทศใดในโลกที่เป็นสังคมนิยม 100% มีแต่ประเทศที่อ้างว่าเป็นสังคมนิยมแต่จริงๆแล้วเป็นเผด็จการทุนนิยม หรือ ทุนนิยมโดยรัฐทั้งสิ้น
ถ้าถามผมว่าเราจะเป็นประเทศสังคมนิยมดีมั้ย คำตอบ ของผมเลยคือ ไม่ดีครับ ถ้าเราจะเป็นสังคมนิยม ทั้งโลกต้องเป็นด้วย แล้วทั้งโลกจะไม่ได้แบ่งออกเป็นประเทศๆ แต่ถ้าเราเป็นแค่เราอย่างเดียว เราก็ซำ้รอยรัสเซียครับ ทำไมถึงต้องเป็นทั้งโลกล่ะ? เพราะถ้าเป็นอยู่แค่ประเทศเดียว ประเทศนั้นจะล้าหลังทันที นึกภาพง่ายๆว่า ถ้าประเทศอื่นเป็นทุนนิยม นายทุนสามารถที่จะสะสมความมั่งคั่งได้อย่างอิสระ แต่การที่เป็นสังคมนิยม นายทุนโดยทั่วไปจะมีความมั่งคั่งลดลง เนื่องจาก แรงงานจะถูกให้ค่ามากขึ้น ค่าจ้างแรงงานจะสูงขึ้น จากการที่โดนกดขึ่ค่าจ้างลดลง แต่นายทุนก็จะมีความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศลดลงเช่นกัน ยิ่งถ้ามีต้องการเจริญทันเทียมนานาประเทศอีก การเร่งปัจจัยการผลิตจะทำให้เกิดการแทรกแซงโดยรัฐเกิดขึ้นได้ง่าย ก็จะกลายเป็นทุนนิยมโดยรัฐไปโดยปริยาย เพราะฉะนั้นในความคิดของผม ตัวอย่างบนโลกนี้ที่มาจากแนวคิดสังคมนิยม ไม่มากก็น้อย น่าจะเป็นการรวมกลุ่มกันของแต่ละประเทศในภูมิภาคเดียวกัน เช่นสหภาพยุโรป มีการใช้สกุลเงิน มีการเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างอิสระ ซึ่งอังกฤษที่เป็นทุนนิยมมากที่สุดก็ย่อมจะไม่เห็นด้วย จึงถอนตัวออกไปอย่างไม่น่าสงสัย
ถ้าเราลองนึกถึงประเทศที่ความคิดของสังคมนิยมแผ่เข้ามาส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดนั้น เป็นประเทศยังไม่พัฒนา ก็คือ รัสเซีย จีน(ในสมัยก่อน) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ ยุโรปตะวันออก เป็นประเทศเหล่านี้เน้นเกษตรกรรมเป็นหลัก อยู่ในระบบทุนนิยมที่มีความเหลื่อมล้ำสูง สิ่งที่เกิดขึ้นถ้ามีการปฏิวัติสังคมนิยมขึ้นมา เราจะไปซ้ำรอยรัสเซียในสมัยก่อน ยิ่งในปัจจุบันนี้ การที่เราจะเปลี่ยนจากประเทศที่กำลังพัฒนาไปเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วนั้น เราใช้โมเดลแบบอังกฤษคงจะยากแล้วเพราะอังกฤษเป็นผู้นำการผลิตและการนวัตกรรมในสมัยนั้น เราเองจะเป็นผู้นำนวัตกรรมได้หรือ?? ซึ่งถ้าเราเป็นผู้นำนวัตกรรมแค่อย่างใดอย่างนึงในโลกใบนี้ได้ก็จะนำไปสู่ประเทศพัฒนาแล้วได้ แต่อย่าลืมว่าระบบชนชั้นของอังกฤษตอนนั้น กับเราตอนนี้ก็ยังแตกต่างกัน ชาวนายังเป็นกลุ่มประชากรขนาดใหญ่ในประเทศอยู่ แล้วกับการที่เราจะเร่งตั้งนิคมอุตสาหกรรมให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนเพื่อหาประโยชน์จากค่าแรงที่ถูกของแรงงาน และสนับสนุนรัฐวิสาหกิจเช่น การบินไทย เราจะยิ่งซ้ำรอยการปฏิวัติอุตสาหกรรมแบบรัสเซีย สิ่งที่ผมอยากจะเสนอคือ เราอาจจะต้องเป็นอย่างฝรั่งเศสที่เน้นอุตสหกรรมเบา เช่น สิ่งทอ เกษตรกรรม แปรรูปสินค้าเกษตร หรือแม้กระทั่ง สนับสนุนการผลิตเหล้า ท้องถิ่นอย่างสาเก สาโท ที่เป็นจุดเด่นของประเทศเราเพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับชุมชน มันจะแย่ไปกว่าการที่เราเน้นอุตสาหกรรมหนักที่ประเทศอื่นพัฒนาไปกันมากแล้ว แล้วบังคับโดยอ้อมให้เกษตรกรเปลี่ยนเป็นแรงงาน หรือ กรรมาชีพ อย่างนั้นหรือ???
รัฐบาลยุคนี้บอกว่าจะใช้โมเดลการพัฒนาแบบจีน เป็นไปไม่ได้ครับ ทำไม?? ทำไมจีนทำได้เราทำไม่ได้? จีนใช้นโยบายในอเมริการ่วมทุนในการลงทุนกะจีน และถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ และมีกฎที่บริษัทจีนซื้อสิทธิในการใช้เทคโนโลยีเป็นเวลาต่อเนื่อง 10 ปี แล้วหลังจากนั้น สิทธิเทคโนโลยีจะเป็นของจีน ทรัมป์จึงโวยวายอยู่ถึงทุกวันนี้ แล้วทำไมที่ผ่านมาอเมริกาถึงยอม เพราะจีนเป็นแหล่งตลาดขนาดใหญ่มีประชากร 1.4 พันล้านคน ใหญ่กว่าเรา 20 กว่าเท่า ลงทุนในจีนประเทศเดียวเหมือนลงทุนกับประเทศอย่างเรา 20 ประเทศ แล้วเราจะเอาอะไรไปทำให้อเมริกายอมเราแบบเค้าล่ะครับ???
จุดตรงกลางของทั้งสองระบบ
นอกเหนือไปจากพัฒนาแบบที่ได้อธิบายไปยืดยาวแล้ว เราทราบแล้วว่าในยุคของเราคงจะเป็นไปไม่ได้ที่จะเป็นสังคมนิยมทั่วโลกพร้อมกัน ยกเว้นมีสงครามที่ใหญ่กว่าสงครามโลกครั้ง 2 ซัก 10 เท่า ก็อาจจะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ได้ เพราะฉะนั้นแล้วเราก็คงต้องอยู่ในระบบทุนนิยมต่อไป แต่ควรจะต้องได้อยู่ในระบบนี้อย่างเป็นธรรม สำหรับคนทุกชนชั้นเช่นกัน ทุกคนก็คงฝันเห็น ว่าเวลาเราเดินออกไปทางท้องถนน มีคนรวยใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น มีอาชญากรรมน้อยลง ทุกคนที่อยู่อาศัยที่เป็นของของเราเอง ไม่ได้ใช้เงินเดือนชนเดือน ชนชั้นน้อยลง ผมว่าเราคงมีเพื่อนใหม่ๆเยอะขึ้นแน่นอน ซึ่งก็แน่นอนอีกนั่นแหละ การที่จะได้มาถึงสิ่งเหล่านี้ มันก็ต้องมาจากการพัฒนาประเทศอย่างที่ว่า ร่วมกับการที่รัฐเข้ามาจัดการ ในเรื่องรัฐสวัสดิการ และภาษีในอัตราก้าวหน้าอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ซึ่งมันก็คือจุดตรงกลางระหว่างสองระบบนั่นเอง
เสริมจมูกควรราคาเท่าไหร่
และแล้วเราก็มาถึงแก่นของบทความนี้หลายคนคงลืมไปแล้วว่าอ่านเรื่อง ราคาเสริมจมูกควรราคาเท่าไหร่ ไม่แปลกหรอกครับ ขณะที่ผมเขียนอยู่ผมยังเกือบลืมเลย 555
ทั้งนี้ราคาที่แตกต่างกันก็ขึ้นอยู่กับสองปัจจัยนั่นเอง
ปริมาณแรงงานที่ใช้
กลไกตลาด
นั่นก็แปลว่าราคาทำจมูกนั้นขึ้นกับทั้งทุนนิยมและสังคมนิยมรวมกันนั่นเอง
ปริมาณแรงงาน ==> ถ้าเคสไหนต้องใช้เทคนิคในการทำเยอะเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดสำหรับคนๆนั้นราคาก็ควรต้องแพง เช่นต้องใช้เวลาทำนาน จึงต้องการหมอดมยาอีกท่าน หรือ ต้องการปรับโครงสร้างกระดูก กับเคสที่เสริมจมูกซิลิโคนอย่างเดียว ถ้าปรับโครงสร้างกระดูกด้วยแก้ด้วย ใช้เวลา 3 ชั่วโมง กับเสริมซิลิโคนอย่างเดียว ราคานั่นก็คงจะไม่เท่ากัน
กลไกลตลาด ==> ถ้าหมอท่านนั้นมีคนต้องการทำด้วยเยอะ แน่นอนย่อมมีคนยินยอมที่จ่ายแพงขึ้นเพื่อไม่ต้องรอคิวที่ยาวเยียด ดังนั้นราคาจึงแพงตามไปด้วยเช่นกัน
สรุป
การมองโลกโดยเปรียบเทียบกับเหรียญซึ่งมีสองด้านเสมอ มักจะทำให้เราเข้าใจสถานการณ์การต่างๆได้ดียิ่งขึ้น มุมมองต่อโลกใบนี้ก็เปลี่ยนไปจากเดิม ถ้าสมมติมีคนถามคุณว่า คุณชอบช่วงไหนของชีวิตมากที่สุด ผมเชื่อเหลือเกินว่าคนจำนวนมากมักจะตอบว่าเป็นช่วงมัธยม ไม่ก็มหาลัย เหตุผลนะเหรอ ถ้าถามในความคิดผม ผมว่ามันเป็นช่วงที่คนเราโตพอที่รับรู้เรื่องราวต่างๆได้ เรามีเพื่อนที่เราไม่เคยอยากรู้ด้วยซ้ำว่าฐานะเค้าเป็นอย่างไร ถึงแม้ว่าเรารู้เราก็แทบจะไม่แคร์ด้วยซ้ำ เค้าจะรวยหรือจนเค้าก็ยังเป็นเพื่อนของเรา จนผมมานั่งคิดว่า ทำไมหลายคนถึงบอกว่าเราเป็นสังคมนิยมไม่ได้ เราจะมองว่าทุกคนเท่ากันไม่ได้ ในเมื่อเราเองก็เกิดมาพร้อมกับการที่มองว่าทุกคนเท่ากัน ความคิดเหล่านี้มันอยู่เบื้องลึกของจิตใจเราไม่ใช่หรือ? หรือมันคือการมองว่าการแข่งขันคือธรรมชาติของมนุษย์แบบความคิดทุนนิยมในปัจจุบัน?? แล้วจริงๆธรรมชาติของมนุษย์เป็นอย่างไร??? ผมอยากสรุปจบท้ายแบบนี้ว่า เส้นตรงที่เราเคยมองว่าตรง เวลาผ่านไปเราอาจจะมองว่าไม่ตรง โลกใบนี้ก็เช่นกัน อะไรที่เราเห็นว่าถูกต้องในตอนนี้ มันอาจจะถูกเพราะว่าเราไม่รู้อะไรเลย และมิหน่ำซ้ำเรายังไม่รู้ถึงขนาดที่เราไม่รู้ตัวว่าเราไม่รู้ บางทีเราคิดว่าสิ่งที่เรารู้นั้นถูกต้อง แต่จริงๆมันอาจจะเป็นเพียงภาพลวงตาของอุปทานหมู่ระดับโลก ไม่มีความจริงอะไรที่เป็นนิรันดร์
Comments